ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับหนังสือราชการกันก่อนนะครับว่ามีความหมายอย่างไร
หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ใช้ไปมาระหว่างส่วนราชการหรือส่วนราชการใช้ไปมากับหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่ราชการ ได้แก่
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- หนังสือที่ใช้ไปมาระหว่างส่วนราชการ
- หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
- หนังสือที่หน่วยงานที่ไม่ใช่ส่วนราชการหรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ
- เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานในราชการ
- เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับต่างๆ
ประเภทของหนังสือราชการมีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่
- หนังสือภายนอก
- หนังสือภายใน
- หนังสือประทับตรา
- หนังสือสั่งการ
- หนังสือประชาสัมพันธ์
- หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานราชการ
หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธี โดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วน ราชการ หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก
หนังสือภายใน คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก เป็นหนังสือติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกข้อความ
หนังสือประทับตรา คือ หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป เป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตราหนังสือประทับตราให้ใช้ได้ทั้งระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการ และระหว่างส่วนราชการกับบุคคลภายนอก เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ
http://www.krisdika.go.th/librarian/getfile?sysid=530615&ext=htm
ข้อแตกต่างระหว่างหนังสือภายนอกและหนังสือภายใน
หนังสือภายนอก | หนังสือภายใน |
1. ไป-มา เป็นทางราชการ | 1. ไป-มา ในเรื่องราชการ |
2. ติดต่อระหว่างตำแหน่งต่อตำแหน่ง | 2. ติดต่อกับบุคคลผู้ดำรงตำแหน่ง |
3. ใช้กระดาษตราครุฑ | 3. ใช้กระดาษบันทึกข้อความ |
4. สภาพหนังสือผูกมัดถาวรตลอดไป | 4. ไม่ผูกมัด เปลี่ยนแปลงได้ |
5. รูปแบบหนังสือเป็นแบบหนังสือลงนามเต็มฉบับ และแบบประทับตรา | 5. ใช้บันทึกแทน |
6. คําขึ้นต้น ประกอบด้วย เรื่อง เรียน อ้างถึง สิ่งที่ส่งมาด้วย(ถ้ามี) | 6. คําขึ้นต้นใช้เรียน อ้างถึงหนังสือใส่ในข้อความ |
7. ห้ามใช้คําย่อ อักษรยย่อ ต้องใช้คำเต็มทั้งชื่อส่วนราชการ วัน เดือน ปี | 7. ใช้คำย่อของ ตำแหน่ง หรือส่วนราชการวัน เดือน ปี ได้ |
8. คําลงท้ายใช้ขอแสดงความนับถือหรืออื่น ๆ แล้วแต่กรณี | 8. ไม่มีคำลงท้าย |
ดาวน์โหลด แบบฟอร์ม หนังสือราชการ WORD(.DOC)
ก็จบไปแล้วนะครับสำหรับข้อมูลและตัวอย่างของหนังสือราชการ หนังสือภายนอก หนังสือภายในและหนังสือประทับตรา ยังไงก็ลองดาวน์โหลดนำไปใช้กันได้ตามสดวกเลยนะครับ แล้วพบกันใหม่ได้ในแบบฟอร์มหน้าครับ วันนี้ขอลาไปก่อนแล้วเจอกันใหม่ทุกคน บายๆ