ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับหนังสือราชการกันก่อนนะครับว่ามีความหมายอย่างไร

หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ใช้ไปมาระหว่างส่วนราชการหรือส่วนราชการใช้ไปมากับหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่ราชการ ได้แก่

  1. หนังสือที่ใช้ไปมาระหว่างส่วนราชการ
  2. หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
  3. หนังสือที่หน่วยงานที่ไม่ใช่ส่วนราชการหรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ
  4. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานในราชการ
  5. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับต่างๆ

ประเภทของหนังสือราชการมีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่

  1. หนังสือภายนอก
  2. หนังสือภายใน
  3. หนังสือประทับตรา
  4. หนังสือสั่งการ
  5. หนังสือประชาสัมพันธ์
  6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานราชการ

หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธี โดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วน ราชการ หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก

หนังสือภายใน คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก เป็นหนังสือติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกข้อความ

หนังสือประทับตรา คือ หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป เป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตราหนังสือประทับตราให้ใช้ได้ทั้งระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการ และระหว่างส่วนราชการกับบุคคลภายนอก เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ

http://www.krisdika.go.th/librarian/getfile?sysid=530615&ext=htm
หนังสือราชการ
ภาพตัวอย่างหนังสือราชการ

ข้อแตกต่างระหว่างหนังสือภายนอกและหนังสือภายใน

หนังสือภายนอกหนังสือภายใน
1. ไป-มา เป็นทางราชการ1. ไป-มา ในเรื่องราชการ
2. ติดต่อระหว่างตำแหน่งต่อตำแหน่ง2. ติดต่อกับบุคคลผู้ดำรงตำแหน่ง
3. ใช้กระดาษตราครุฑ3. ใช้กระดาษบันทึกข้อความ
4. สภาพหนังสือผูกมัดถาวรตลอดไป4. ไม่ผูกมัด เปลี่ยนแปลงได้
5. รูปแบบหนังสือเป็นแบบหนังสือลงนามเต็มฉบับ และแบบประทับตรา5. ใช้บันทึกแทน
6. คําขึ้นต้น ประกอบด้วย เรื่อง เรียน อ้างถึง สิ่งที่ส่งมาด้วย(ถ้ามี)6. คําขึ้นต้นใช้เรียน อ้างถึงหนังสือใส่ในข้อความ
7. ห้ามใช้คําย่อ อักษรยย่อ ต้องใช้คำเต็มทั้งชื่อส่วนราชการ วัน เดือน ปี7. ใช้คำย่อของ ตำแหน่ง หรือส่วนราชการวัน เดือน ปี ได้
8. คําลงท้ายใช้ขอแสดงความนับถือหรืออื่น ๆ แล้วแต่กรณี8. ไม่มีคำลงท้าย
ตารางเปรียบเทียบหนังสือภายนอกกับหนังสือภายใน

ดาวน์โหลด แบบฟอร์ม หนังสือราชการ WORD(.DOC)

ก็จบไปแล้วนะครับสำหรับข้อมูลและตัวอย่างของหนังสือราชการ หนังสือภายนอก หนังสือภายในและหนังสือประทับตรา ยังไงก็ลองดาวน์โหลดนำไปใช้กันได้ตามสดวกเลยนะครับ แล้วพบกันใหม่ได้ในแบบฟอร์มหน้าครับ วันนี้ขอลาไปก่อนแล้วเจอกันใหม่ทุกคน บายๆ